วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555

ภาษีบ้านใหม่หลังแรก

ที่มา http://www.dailynews.co.th/article/944/1780

ตามที่เป็นข่าวครึกโครมว่า รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้ประชาชนที่ไม่เคยมีที่อยู่อาศัยเป็นกรรมสิทธิ์ของตน สามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุดเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย และได้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับมูลค่าบ้านหลังใหม่ ณ บัดนี้ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 528) พ.ศ. 2554 ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุดที่มีมูลค่าไม่เกิน 5 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตน ในระหว่างวันที่ 21 ก.ย. 2554 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2555 เป็นจำนวนเท่ากับภาษีเงินได้ที่คำนวณจากเงินได้สุทธิหรือที่ต้องชำระก่อนการคำนวณเครดิตภาษี แต่ไม่เกิน 10% ของมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์นั้น โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1. ต้องจ่ายค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุด และมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นให้แล้วเสร็จภายในช่วงเวลาดังกล่าวข้างต้น

2. ต้องใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ครั้งแรกภายใน 5 ปีภาษีนับแต่ปีภาษีที่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ และต้องใช้สิทธิดังกล่าวเป็นเวลา 5 ปีภาษีต่อเนื่องกัน โดยให้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเป็นจำนวนเท่า ๆ กันในแต่ละปีภาษี

3. ต้องไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุดเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยมาก่อน

4. ต้องมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์นั้นต้องไม่เคยมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์มาก่อน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

5. ต้องไม่เคยเป็นผู้ใช้สิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย

6. ต้องไม่เคยเป็นผู้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นที่อยู่อาศัยเดิมและซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยใหม่ และต้องไม่เคยเป็นผู้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย

อนึ่ง ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้มีเงินได้ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดดังกล่าวในปีภาษีใด ให้สิทธิที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สิ้นสุดลงตั้งแต่ปีภาษีแรกที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ และให้ถือว่าไม่เสียหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลา จึงต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งสำหรับภาษีเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมาแล้วด้วย


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

นโยบาย บ้านหลังแรก : นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการบ้านหลังแรก สำหรับคนที่ซื้อบ้านราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท จะได้คืนภาษี 10% โดยประชาชนผู้ที่จะได้สิทธิจะต้องซื้อบ้านของโครงการตั้งแต่วันที่ 22 ก.ย.2554 จนถึงสิ้นปี 2555
โดยกำหนดราคาบ้านเพิ่มขึ้นจาก 3 ล้านบาท เป็นไม่เกิน 5 ล้านบาท และให้หักลดหย่อนภาษีได้เป็นระยะเวลา 5 ปี เพื่อให้ครอบคลุมราคาอสังหาริมทรัพย์ในทำเลในเมืองและกลางเมือง
…………………………………………………………………………………………………

รายละเอียดโครงการบ้านหลังแรก เบื้องต้น

- หากซื้อบ้านราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท ผู้ซื้อสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการซื้อบ้านไปคำนวณหักลดหย่อนภาษีได้ปีละ 100,000 บาท ในระยะเวลา 5 ปี รวมเป็น 500,000 บาท
- หากซื้อบ้านราคา 1 ล้านบาท ก็จะได้ปีละไม่เกิน 2 หมื่นบาท  ในระยะเวลา 5 ปี รวมเป็น  100,000 บาท
ซึ่งก็คือ หักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของค่าใช้จ่ายจริง

เงื่อนไข บ้านหลังแรก

ทั้งนี้ สำหรับเงื่อนไขอื่น ๆ ของมาตรการลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกนั้น ผู้ซื้อบ้านจะต้องเป็นผู้ที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และเป็นผู้ซื้อบ้านหลังแรก ไม่รวมผู้ซื้อบ้านมือสอง หรือสร้างบ้านเอง สำหรับนโยบายนี้ ทางกรมสรรพากรประเมินว่าจะมีผลกระทบต่อรายได้ภาษีทั้งหมด (กรณีสูงสุด) ไม่เกิน 1,700 ล้านบาท
บ้านหลังแรก ครม.อนุมัติอีกแพคเกจ ราคาไม่เกิน 1 ล้าน ดอกเบี้ย 0% 3ปี
หลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรีวานนี้(28ก.ย.) ครม. มีมติอนุมัติโครงการบ้านหลังแรก เพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ด้วยการกำหนดวงเงินมูลค่าบ้านไม่เกิน 1 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ย 0% เป็นเวลานาน 3 ปี โดยจะให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เป็นผู้ปล่อยกู้ ซึ่งรัฐบาลจะต้องชดเชยอัตราดอกเบี้ยให้ 3 ใน 4 ของดอกเบี้ยทั้งหมด หรือประมาณ 300 ล้านบาท
ทั้งนี้มาตรการโครงการบ้านหลังแรกเดิม ให้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ 10% หรือไม่เกิน 500,000 บาทของมูลค่าบ้านไม่เกิน 5 ล้านบาท นั้น ที่ประชุมมีมติตามข้อเสนอของกระทรวงการคลังที่ปรับปรุงใหม่ เป็นการหักโดยตรงจากเงินที่ต้องเสียภาษี ซึ่งเป็นการหักหลังจากที่คำนวณภาษีเสร็จแล้ว ในระยะเวลา 5 ปี ตกปีละไม่เกิน 100,000 บาท เพื่อให้สิทธิประโยชน์กับผู้ซื้อบ้านได้มากที่สุด

บ้านหลังแรก ถาม-ตอบ 20 ข้อ

ครม.ไฟเขียว บ้านหลังแรก ลดภาษี 10%เริ่ม 22 ก.ย. ถึงสิ้นปี 55 รมช.คลัง เผย
เปิดกว้างแบงก์รัฐใช้ไม่ใช้ดอกเบี้ย 0%
วันนี้ (20 กันยายน 2554) ที่ประชุม ครม. มีมติอนุมัติโครงการบ้านหลังแรก ลดภาษี 10% เริ่ม 22 ก.ย. ถึงสิ้นปี 55 โดย นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าเงื่อนไขหลักและกฎเกณฑ์ที่นำเสนอเป็นบ้านราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท ผู้ซื้อบ้านหลังแรกสามารถนำไปขอลดหย่อนภาษีได้
ส่วนกรณีธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ยังไม่ชัดเจน จะสนับสนุนดอกเบี้ยบ้านหลังแรก 0% หรือไม่นั้น โดยข้อเท็จจริงแล้ว ทางกระทรวงการคลังจะไม่เอานโยบายดอกเบี้ยมาใช้ แต่สถาบันทางการเงินทุกแห่งที่เป็นของรัฐและเอกชน ก็สามารถที่จะนำนโยบายดอกเบี้ย 0% มาใช้ในทางการตลาด เพื่อจูงใจผู้ซื้อบ้านหลังแรกให้ได้รับสิทธิประโยชน์ได้ อย่างไรก็ตาม หากมาตรการดังกล่าวผ่านการเห็นชอบและอนุมัติในหลักการแล้ว ก็จะเริ่มดำเนินการทันที

(1)เป็นเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ตามจำนวนที่จ่ายจริง ในอัตราไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
(2)ผู้มีเงินได้มีสิทธิยกเว้นภาษีเป็นจำนวนเท่า ๆ กันในแต่ละปีเป็นเวลา 5 ปีภาษีต่อเนื่องกัน ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 500,000 บาท
(3)การยกเว้นภาษีจะใช้วิธีการหักค่าลดหย่อน ซึ่งผู้มีเงินได้สามารถเลือกใช้สิทธิ์ครั้งแรกสำหรับเงินได้ในปีที่ได้โอนกรรมสิทธิ์หรือปีถัดไปก็ได้ โดยสามารถหักเป็นค่าลดหย่อนได้ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 5 ปี
(4)ผู้มีเงินได้ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ให้แล้วเสร็จ ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2554ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555
(5)ผู้มีเงินได้ต้องไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยมาก่อน
(6)ผู้มีเงินได้ต้องมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์นั้นต้องไม่เคยผ่านการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์มาก่อนไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
ตรงนี้ผมหาข้อมูลมาจากการรวบรวมจากหนังสือพิมพ์หลายๆฉบับ ไม่ได้ฟันธง ถ้ามีผิดก็จะแก้ให้ครับ
  1. คอนโด ทาวน์เฮาส์ ตึกแถว นับเป็นบ้านหลังแรกไหม? - นับ
  2. ที่ดินเปล่า นับเป็นบ้านหลังแรกไหม? – ไม่นับ
  3. ปลูกบ้านเอง นับเป็นบ้านหลังแรกไหม? – ไม่นับ
  4. บ้านเกิน 5 ล้าน จะใช้สิทธิ์ได้ที่ 5 ล้านหรือไม่ได้เลย? – ไม่ได้เลย
  5. ได้บ้านมาเป็นมรดกหลังหนึ่ง แล้วไปซื้ออีกหลังหนึ่ง นับเป็นบ้านหลังแรกไหม? -(อาจจะได้ ถ้าไม่เคยผ่อนบ้านที่ได้มาเป็นมรดก) update ไม่แน่ครับ ฟังจากวิทยุต้องไม่มีชื่อในกรรมสิทธิ์ด้วย
  6. ดอกเบี้ย 0% มีไหม? - ไม่มีจากรัฐ รอดู ธอส.
  7. ถ้ามี 0% แล้วมีกี่ปี มีข้อจำกัดอะไรบ้าง? – ไม่มีดอกเบี้ย 0%
  8. ถ้าขายบ้านต่อแล้วเสียสิทธิทางภาษีไหม? – ต้องเป็นเจ้าของ 5 ปี
  9. เงื่อนไขผูกมัดมีอะไรบ้าง ระยะเวลานานเท่าใด? – 5 ปี
  10. จะจ่ายเงินคืนให้อย่างไร? – หักลดหย่อนจากภาษีเงินได้ ตามฐานภาษีของแต่ละคน
  11. หักลดหย่อนสูงสุดเท่าไร? – บ้าน 5 ล้านพอดี หักจริงๆได้ 1.85 แสนบาท จากฐานภาษี 37%
  12. ไม่เสียภาษีได้ประโยชน์ไหม? – ไม่ได้
  13. เสียภาษี 10% ซื้อบ้าน 2 ล้านหักอย่างไร? – คิด 2 แสน จาก 2 ล้าน หาร 5 ปี ได้ ปีละ 40,000 เท่ากับประหยัดภาษีไปปีละ 10% จาก 40,000 ก็คือ 4,000 บาท
  14. ดูอย่างไรว่าเป็นบ้านหลังแรก – รายชื่อการผ่อนบ้าน เช็คจากสินเชื่อว่าเคยผ่อนบ้านหรือไม่
  15. นับจากวันไหนว่าซื้อบ้าน – วันโอนกรรมสิทธิ์
  16. คนที่ได้รับสิทธิ์ต้องมีรายได้เท่าไหร่ – มากกว่า 150,000 บาทต่อปี นับจากรายได้ที่ยื่นภาษีเท่านั้น
  17. คนรับสิทธิ์มีประมาณกี่คน – 2 ล้านคนเศษ นับเป็น 20 กว่า % จากประชากรผู้ยื่นแบบเสียภาษี
  18. กู้ร่วมกับแฟนได้หรือไม่ – ได้
  19. คนหนึ่งจำกัดกี่หลัง – 1 หลังเท่านั้น
  20. จำกัดธนาคารที่ยื่นขอกู้หรือไม่ – ไม่จำกัด
ข้อมูลอ้างอิง นสพ ผู้จัดการ
นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)เปิดเผยว่า จากการคำนวณสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับตามฐานการจ่ายภาษีรายได้ของบุคคลธรรมดา กรณีตัวอย่าง ซื้อบ้านราคา 5 ล้านบาท สามารถหักลดหย่อนก่อนการคำนวณภาษีเงินได้ประจำปี 5 แสนบาท จะพบว่า ผู้ที่มีฐานรายได้150,001-500,000 บาท ฐานภาษี 10% เมื่อคำนวณแล้วจะสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ปีละ 10,000 บาท รวม 5 ปี เป็นเงิน 50,000 บาท
ฐานรายได้ 500,001-1,000,000 บาทฐานภาษี 20% หักลดหย่อนภาษีได้ปีละ20,000 บาท รวม 5 ปี เป็นเงิน 100,000 บาท,ฐานรายได้ 1,000,001-4,000,000 บาท ฐานภาษี 30% หักลดหย่อนภาษีได้ปีละ 30,000 บาท รวม 5 ปี เป็นเงิน 150,000 บาท และฐานรายได้ 4,000,001 บาท ขึ้นไป ฐานภาษี37% หักลดหย่อนภาษีได้ 37,000บาท รวม5 ปี หักลดหย่อนภาษีได้ 185,000 บาท
ทั้งนี้ ผู้เสียภาษีจะได้รับประโยชน์มากน้อยตามฐานอัตราภาษี และราคาบ้าน โดยผู้ที่จะได้รับประโยชน์สูงสุด คือผู้ที่มีรายได้ตั้งแต่ 4 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งมีฐานการจ่ายภาษีที่ 37% และต้องซื้อบ้านราคาสูงสุด5 ล้านบาท จะได้รับประโยชน์ 185,000 แสนบาท
รายละเอียดอ่านเพิ่มเติมได้จาก ThinkOfLiving.COM/tag/บ้านหลังแรก/ 
  1. Q:นโยบายบ้านหลังแรกสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญอย่างไรคะ


    • A:ประกาศอธิบดีสรรพากร ฉบับที่ 213 ครับ
  2. Q: ถ้าตอนนี้ฐานเงินเดือนยังไม่เสียภาษีซื้อคอนโดผ่อน15ปี
    แล้วฐานเงินเดือนจะเสียภาษีในอีกสามปีนี่จะได้ไหมครับ
    หรือว่านับตอนซื้อเท่านั้น
  3. Q: ถ้าจะซื้อคอนโด ราคา 4ล้านบาท ฐานเงินเดือน เสียภาษี 20% จะได้ลดหย่อนภาษีเท่าไรคะ ขอบคุณคะ
  4. Q:หนูเป็นผู้มีรายได้ต่อปีไม่ถึง 150,000 แฟนมีรายได้ 250,000 กำลังจะกู้ร่วมเพื่อซื้อบ้านหลังแรกราคา 1,100,000 แล้วจะต้องเสียภาษีเท่าไหร่ โดยคิดยังไงค่ะ
  5. Q: คือพ่อแม่ขายกับข้าวได้เงินเดือนแบบคนจนๆๆๆๆ
    จะกู้ได้ไหม หรือให้แต่คนพอมีฐานะ
    ครอบครัวหนูไจะพอมีสิทธิ์ ไหม
  6. Q: สอบถามหน่อยค่ะ คือพอดีคนที่รู้จักจะขายบ้านให้ในราคา 2700,000 บาท อยากถามว่าเเบบนี้ถือว่าเข้าร่วมโครงการไหมค่ะ ขอบคุณล่วงหน้านะคะ ^^
    • A: นโยบายเดิมบ้านมือ 2 ไม่เข้าข่ายครับ นโยบายใหม่ยังไม่แน่
  7. Q: ขอบคุณมากครับ ขอถามต่ออีกหน่อยนะครับ ถ้าโครงการไม่สามารถออกใบกำกับภาษีให้ได้ มีเพียงแต่ใบเสร็จรับเงิน จะได้มั้ยครับ
    หรือว่าต้องใช้หลักฐานตอนโอนบ้านที่ที่ดิน เนื่องจากมีราคาระบุอยู่ แต่ผมเข้าใจว่าทางที่ดินจะไม่ได้ให้กลับมาด้วย. หรือต้องถ่ายสำเนาเก็บไว้ครับ
    ตอนนี้กลุ้มใจเนื่องจากจะต้องโอนสัปดาห์หน้าแล้วครับ
    • A: สำเนาครับ ตอนโอนบ้านสำคัญมาก
  8. A: จ่ายเงินให้ใคร ก็ต้องให้คนนั้นออกใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินให้ครับ
  9. Q: รบกวนถามหน่อยครับ ถ้าซื้อด้วยเงินสล้อล้วจะเอาหลักฐานอะไร มายืนยันราคาที่ซื้อบ้านหรือครับ
  10. Q: บ้านมือสองก็กู้ไม่ได้ใช่ไม๊คะ
    • A: กู้ได้ตามปกติครับ แต่ไม่ได้ผลประโยชน์ทางภาษีโครงการบ้านหลังแรก
  11. Q: แม่มีบ้านหลายหลัง ยกให้เป็นมรดก 1หลังแต่ยังไม่ได้โอน ต่อมาแม่จะขายบ้านอีกหลัง ซึ่งไม่ใช่หลังที่ยกให้เป็นมรดก เราสามารถกู้โครงการบ้านหลังแรกซื้อบ้านแม่ได้หรือไม่
    • A: ไม่ได้ครับ บ้านใหม่เท่านั้น “อสังหาริมทรัพย์นั้นต้องไม่เคยผ่านการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์มาก่อนไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน”
  12. Q: ถ้าซื้อบ้าน 2,000,000 บาท ภาษี ฐาน 10 % ลดได้ 200,000 บาท 5 ปี ตกปีละ 40,000 บาท แต่ถ้าปี นี้ เสียภาษี ฐาน 10 % และ ปีหน้าเปลี่ยนงาน ทำให้เสียภาษี ฐาน 20 %
    ปี ที่เสียฐาน 20 % จะสามารถหักลดหย่อนได้ 40,000 หรือ 80,000 บาทครับ
    • A: หักเป็นปีต่อปีครับ ปีไหนเสียเท่าไหร่ก็หักเท่านั้น
  13. Q: อยากทราบว่าถ้าเคยมีบ้านอยู่แล้ว แต่ซื้อสด ไม่ได้กู้ แล้วจะมาซื้อเพิ่ม โดยการกู้ จะใช้สิทธิลดหย่อนได้ไหม
  14. Q: บ้าน มือ สอง อะครับ จะเรียกว่า บ้านหลัง แรก ได้ไหม
  15. Q: 1. ผมเสียภาษีฐาน 10% และเมื่อหักลดหย่อนทุกประการแล้วจะได้เงินคืนภาษีกลับมาไม่ถึงเกณท์จ่ายภาษีเพิ่ม และจะซื้อบ้านหลังแรกด้วยเงินสดไม่กู้แบงค์ จะได้ภาษีบ้านหลังแรกคืนเพิ่มเติมอีกไหมครับ
    2. ถ้าผมเคยมีบ้านมาแล้ว และได้ขายไปปีก่อน จะกลับมาซื้อบ้านหลังแรก ได้สิทธิ์นี้ไหมครับ
  16. Q: ถ้าซื้อบ้านหลังแรก ซื้อด้วยเงินสด 5 ล้านบาท และเหลือระยะเวลาทำงานอีก 3 ปี ที่ยื่นภาษีเงินได้ กรณีนี้จะคำนวณลดหย่อนอย่างไร
  17. Q: ขอถามค่ะ
    - เคยเป็นผู้กู้ร่วมกับแฟนเก่าซื้อคอนโด ไม่แน่ใจว่าถือกรรมสิทธิ์คู่หรือไม่
    จะตรวจสอบอย่างไรค่ะ
    - นโยบายนี้ ไม่มีเงื่อนไขว่าต้องไม่มีชื่อเป็นเจ้าบ้านใช่ไหมค่ะ (กรรมสิทธิ์บานเป็นของพ่อ แต่เราเป็นเจ้าบ้าน)
    เพราะเคยอ่านนโยบายดอกเบี้ย 0% มันมีเงื่อนไขนี้อยู่ด้วย
  18. Q: กรณีผู้กู้ร่วม คนใดคนหนึ่งเคยกู้บ้านไปแล้ว แต่อีกคนยังไม่เคย
    ยังสามารถใช้สิทธิ์ได้อยู่หรือเปล่าค่ะ
  19. Q: ขอบคุณค่ะ คือเรื่องภาษีหนูไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ เพราะเพิ่งเคยเสียภาษีปีที่แล้วเองค่ะ
    ส่วนเรื่องลดหย่อน คือหนูไม่มีประกันชีวิต ไม่ได้ลดหย่อนอะไร ปีที่แล้วได้คืนภาษีประมาณ 7- 8000 กว่าบาท แต่เพื่อนที่ทำงานคล้ายๆกัน ได้คืนเกือบ 2 หมื่น เพราะเค้ามีบ้านกับประกันชีวิต แล้วแบบนี้มันต่างกับลดหย่อนดอกเบี้ยยังไงคะ ขอบคุณที่ช่วยอธิบายค่ะ สับสนจิงๆๆเด็กน้อยมากมาย
  20. Q: สอบถามดังนี้ครับ
    ผมมีบ้านเอื้ออาทรแล้ว คงเข้าโครงการบ้านหลังแรกไม่ได้ใช่หรือเปล่าครับ
    ถ้าเป็นแบบนี้ล่ะครับ
    ผมมีแฟนทำงานแต่ไม่มีการเสียภาษี แต่ยังไม่มีบ้าน
    แต่ผมมีบ้านแล้ว ทำงานมีการเสียภาษี
    ถ้ากู้ร่วมกัน ให้เป็นชือแฟนน่าจะได้เข้าโครงการบ้านหลังแรกอยู่หรือเปล่าครับ
    แต่เงินภาษีที่คืน ผมมีสิทธิ์ได้คืนหรือเปล่าครับ
    ขอบคุณครับ
    • A:คงไม่ได้ครับ
      Q:  หนูเพิ่งเรียนจบ เพิ่งทำงานภาษีทั้งปี รวม 3 แสนกว่าบาท กำลังจะผ่อนคอนโดราคาแค่ 890,000 บาท ช่วยอธิบายหน่อยสิคะ ว่าได้ลดหย่อนยังไงบ้างค่ะ แล้วต่างกับลดหย่อยดอกเบี้ยตามปกติอย่างไร
    • Q: 3 แสนกว่าบาท สมมุติว่าหักค่าใช้จ่ายลดหย่อนโน่นนี่ รวมลดหย่อนดอกเบี้ยไปแล้ว เหลือ 200,000 บาท ต้องจ่ายภาษีเงินได้ 10% ใช่ไหมครับคือ 200,000 บาท คอนโด 890,000 ก็จะเอามาคิดหักลดหย่อนได้ 89,000 หาร 5 เพราะหักได้ 5 ปี ปีละเท่าๆกัน เหลือ 17,800 นำมาลบจาก 200,000 = 182,200 ก็คือจะจ่ายภาษีที่ยอด 182,200 x 10% = 18,220 ประหยัดภาษีไปปีละ 1,780 บาทครับ
  21. Q: คอนโดมือสอง ร่วมโครงการได้มั้ยครับ
    • A:มือสองหมดสิทธิ์ครับ
  22. Q: ถ้าซื้อบ้านที่ ชื่อเราเป็นบ้านหลังแรก แต่แฟนไม่ใช่หลังแรก ทำกู้ร่วมจะหักภาษีได้เต็มราคาบ้านหรือได้ครึี่งเดียวครับ
    • A: ไม่แน่ใจครับ ตรงนี้ลองคุยกับ Bank น่าจะดีกว่า
  23. Q: เอาบ้านจำนองแล้วกู้ร่วมกับพ่อแม่ ถือว่าเสียสิทธิ์บ้านหลังแรกมั้ยคะ
    • Q: บ้านเดิมตัวเองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือเปล่าละครับ ถ้าเป็นก็คือเคยมีบ้านแล้วครับ
      • Q: เป็นชื่อคุณพ่อค่า แค่เอาชื่อเราไปร่วมกู้เพื่อซ่อมแซมเฉยๆ พอดีเรากำลังจะดูบ้านใหม่ เลยอยากรู้สิทธิ์ของตัวเองค่ะ อย่างนี้น่าเราน่าเข้าข่ายมีสิทธิ์ใช่มั้ยคะ
        ขอบคุณล่วงหน้าอีกทีค่ะ
  24. Q:ลดค่าโอน ลดภาษีธุรกิจเฉพาะ ลดภาษีซื้อขายบ้าน แบบที่เคยทำมา ยังจะตรงไปตรงมากว่า ทุกคนมีสิทธิ์ได้ประโยชน์เท่าๆกัน
  25. A: หักได้เต็มมูลค่าการซื้อขายครับ ไม่เกี่ยวกับ จอง ดาวน์ อะไรกี่ %
  26. Q: อ่านจบแล้ว เข้าใจว่าเอาพวกเงินจอง เงินดาวน์มาหักลดหย่อนไม่ได้
    ใช่มั๊ยคะ ?
    เพราะเห็นว่าให้นับหลังจากวันที่โอนกรรมสิทธิ์ ?
  27. Q: สอบถามครับ บ้านผม 6 ล้าน แต่จะกู้แค่ 5 ล้าน สามารถเข้าร่วมขอใช้ประโยชน์ทางภาษีกับนโยบายนี้ได้หรือเปล่าครับ
    • A: ไม่ได้ครับ
  28. Q: สรุปว่าเป็นนโยบายช่วยคนรวย หาเสียงคนจนนิคะ … ไม่ไหวปะ
  29. Q: ถ้าอย่างนั้นบ้านราคาจริงเกิน5ล้าน(สมมุติ5.5) แต่เราขอกู้แค่5ล้านบ้านเพื่อได้สิทธิ์ก็ได้เปล่าครับ
    • A: ไม่ได้ครับ เช็คที่ราคาบ้าน ไม่ใช่วงเงินกู้ครับ
  30. Q: กรณีกู้ร่วมกับแฟน แต่แฟนเรารายได้ไม่เกิน 150000 ส่วนตัวเราโดนฐาน 20 % จะคิดสัดส่วนยังไง
    • A: ไม่ทราบอะครับ รอผู้รู้

      Q" 
      สมัยก่อนเพื่อนซื้อคอนโดแต่ให้ผมช่วยกู้ร่วม
  31. ผมยังสามารถเข้าโครงการนี้ได้มั้ยครับ
    Q: โอนเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2553 อยู่ในเงื่อนหรือไม่ครับ
  32. A: ต้องให้แฟนเป็นผู้ซื้อและเจ้าของครับ
  33. Q: เคยผ่อนคอนโดไว้เมื่อหลายปีก่อน ยังผ่อนไม่หมด เป็นเจ้าของคนเดียว
    ตอนนี้ไปกู้ร่วมกับแฟนเพื่อซื้อบ้านหลังแรก – แฟนไม่เคยผ่อนบ้าน/คอนโดใดๆ เลย สามารถใช้สิทธิได้หรือไม่
  34. Q: วันไหนที่เริ่มนับวันแรกคะ
    วันแรกที่วางเงินดาวน์ หรือเงินจอง วันเซ็นสัญญา หรือวันอะไร วันไหนถึงจะได้สิทธิ์ ??? อยากรู้คร่ะ
    • A: วันโอนครับ


      -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ถาม - ตอบ เกี่ยวกับบ้านหลังแรก
      ที่มา http://business.yutcareyou.com/index.php?option=com_content&view=article&id=4766:2011-10-17-02-54-48&catid=31:money-plus&Itemid=46


      คุณยุทธนา : วันนี้ขออนุญาตให้พี่บู๊สแกนกลับไปถึงนโยบายบ้านหลังแรกของทางรัฐบาลหน่อยนะครับ

      คุณชาติชาย จริงๆแล้วนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องบ้านมี 2 นโยบายคือ นโยบายบ้านหลังแรกของทางรัฐบาล กับเรื่องของอัตราดอกเบี้ย 0% 3 ปีของธอส. ซึ่งถือเป็นคู่แข่งของธนาคารกสิกรไทย ถ้าท่านผู้ฟังเข้าข่ายบ้านหลังแรกก็ให้รีบไปสมัครเพราะมีวงเงินจำกัดอยู่ประมาณ 20,000 ล้าน ผมขออนุญาตเล่าให้ท่านผู้ฟังฟังว่าบ้านหลังแรกมันมีความหมายยังไง ได้ลดหย่อนภาษีอะไรยังไง แล้วใครบ้าง เกณฑ์ยังไงบ้างที่จะเรียกว่าบ้านหลังแรกเพราะอันนี้เป็นตัวที่สับสน ผมก็อยากให้ท่านผู้ฟังได้เข้าใจถ่องแท้ว่าคำว่าบ้านหลังแรกที่รัฐบาลพูดคือบ้านอะไร
      อันแรกคือเรื่องการลดหย่อนภาษี ก็คือว่าบ้านที่เราซื้อตั้งแต่ราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท เราก็สามารถที่จะลดหย่อนได้ 10% ของราคาบ้าน เช่น บ้านราคา 5 ล้าน เท่ากับ 5 แสนบาท แต่สามารถที่จะทยอยหักลดหย่อนได้เป็นเวลา 5 ปี ถ้าคุณเสียภาษีแต่ละปีๆไม่เกิน 1แสนคุณหักได้หมดเลย ถ้าเกิน 1 แสนคุณหักได้ 1 แสน แต่ถ้าคุณมีรายได้น้อยอย่างเช่น 1 ล้านบาท 10% คือ 1 แสนบาท 5 ปีก็ปีละ 20,000 บาท คุณเสียภาษีเท่าไหร่ก็แล้วแต่ ถ้าไม่เกิน 20,000 บาทคุณหักได้หมด แต่ถ้าเกิน 20,000 บาทก็หักได้แค่ 20,000 บาท แปลว่าเราจะได้คืนเงินจากการที่ไม่ต้องเสียภาษีแล้วมาจับจ่ายใช้สอยอย่างอื่น อันนี้คือสิ่งที่รัฐบาลมอบให้ แต่ต้องเป็นบ้านราคาไม่เกิน 5 ล้าน ที่สำคัญที่เขาบอกว่าบ้านหลังแรกก็คือเราต้องไม่เคยมีชื่อเป็นเจ้าบ้านมาก่อนในทะเบียนบ้าน และถ้าบางคนใช้ชื่อภรรยากับสามียื่นกู้ในการเสียภาษีอันเดียวกัน เค้าก็นับรวมด้วยเพราะว่าสามีภรรยาถ้ามีรายได้ก็ยื่นรวมกันเราก็จะถือว่าใช้สิทธิ์ไปแล้ว

      คุณยุทธนา : แต่ถ้ายื่นแยกสามารถใช้สิทธิ์ได้ใช่ไหมครับ

      คุณชาติชาย : ถ้าแยกยื่นสามารถใช้สิทธิ์ได้ ถ้ายื่นร่วมกันใช่สิทธิ์ไม่ได้ และต้องไม่เคยหักลดหย่อนเรื่องดอกเบี้ยเงินกู้มาก่อน สมมติว่าเราเคยซื้อบ้านมาแล้ว เขาตรวจสอบได้จากการเคยมาขอลดหย่อน อันต่อมาผู้มีเงินได้ที่ไม่เคยใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้จากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร พวกนี้คือคนที่เคยใช้สิทธิ์จากการซื้ออาคารต่างๆมาแล้ว มันมีกฎหมายฉบับที่เราขอยกเว้นมา เช่น เคยยกเว้นจากการขายที่อยู่เดิมแล้วมาซื้อที่อยู่ใหม่ ก็มาใช้สิทธิ์ภาษีตามกฎหมายฉบับที่ 241 ปี 46 อย่างนี้เป็นต้น อย่างนี้ก็จับได้แล้วว่าเคยใช้สิทธิ์ขายบ้านเดิมแล้วมาซื้อบ้านใหม่ นั้นเขาก็จะสามารถดึงจากข้อมูลตรงนี้ได้อีก

      คุณยุทธนา : แล้วถ้าเป็นกรณีกู้ร่วมล่ะครับพี่บู๊

      คุณชาติชาย : ทำนองเดียวกัน ถ้าเคยกู้ร่วมมาแล้วจะไม่ได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษีนี้เช่นกันเพราะถือว่าเคยกู้ร่วม ต้องมีการจดทะเบียนโอนในช่วงวันที่ 21 กันยายน-31 ธันวาคม ปี 55 คือจากนี้จนถึงปี 55 ต้องโอนในช่วงนี้ถึงจะใช้สิทธิ์ได้ ต่อมาถ้าเป็นผู้ที่จะลดหย่อนต้องมีชื่ออยู่ในกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ด้วย แล้วต้องถือติดต่อกัน 5 ปีด้วยนะครับเพราะว่าถ้าถือไม่ถึง 5 ปีเค้าอาจจะเรียกภาษีในส่วนที่ชดเชยคืนหรือไม่สามารถหักได้อีก และอีกอันหนึ่งเหมือนคำรับรองคือเราต้องทำหนังสือรับรองต่ออธิบดีกรมสรรพากรว่าไม่เคยมีที่อยู่อาศัยเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองมาก่อน และกรณีถ้าไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ยกเว้นภาษีไว้ให้สิ้นสุดลงตั้งแต่ปีแรกเลยที่ใช้สิทธิ์ และต้องรับผิดชอบจ่ายเงินคืนมาและอาจจะมีเบี้ยปรับ

      คุณยุทธนา : พี่บู๊ครับ ผลกระทบต่อความต้องการซื้อบ้านหลังจากมีโครงการนี้ออกมาแล้ว จะทำให้ตลาดบ้านคึกคักขึ้นมาเยอะไหมครับ

      คุณชาติชาย แน่นอนครับ มันเป็นการกระตุ้นให้เกิด Demand เพิ่มขึ้นเพราะว่าท่านเห็นว่าสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ กรณีที่ท่านยังไม่เคยกู้เลย ยังไม่เคยเป็นเจ้าของบ้านเลย ก็เลยใช้สิทธิ์ตรงนี้ ก็จะทำให้บ้านราคาตั้งแต่ 5 ล้านลงมายังมีโอกาสที่จะได้ใช้สิทธิ์ นั้นบ้านระดับกลาง ระดับสูงก็ยังมีโอกาสที่จะได้สิทธิ์ตรงนี้ถ้าไม่เกิน 5 ล้าน เพราะฉะนั้นผมก็คิดว่ามันก็เป็นเรื่องดีที่รัฐบาลช่วยลดหย่อนภาษีให้และเป็นเรื่องดีที่เป็นการกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ให้มีความคึกคักเพิ่มขึ้นจากนี้จนถึงสิ้นปีหน้า
      สำหรับอีกหนึ่งโครงการที่รอคอยคือธนาคารอาคารสงเคราะห์เค้าก็มีโครงการบ้านหลังแรกที่เป็นดอกเบี้ย 0% 3 ปีแรก วงเงินรวม 20,000 ล้าน ต้องเป็นบ้านราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท

      คุณยุทธนา : บ้านใหม่ บ้านมือสอง หรือ NPA หรือสร้างเองก็ได้หรือเปล่าครับพี่บู๊

      คุณชาติชาย : ครับ โครงการใหม่ให้ไม่เกิน 1 ล้าน เสริมอีกนิดหนึ่งว่าเป็นบ้านหลังแรกและอาจจะเป็นบ้านที่ซื้อจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ซึ่งก็คือ NPA ของธนาคารอาคารสงเคราะห์นั่นแหละครับ สามารถที่จะกู้ได้ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่บ้านใหม่ นอกนั้นอาจจะเป็นบ้านใหม่ที่ต้องทำสัญญาโอนภายใน 31 ธันวาคม 2555 เช่นกัน หรือเมื่อไหร่ที่วงเงินหมด ต้องไม่เคยเป็นเจ้าบ้านและต้องย้ายชื่อเข้ามาอยู่ในบ้านหลังที่จะกู้ ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ราคาบ้านไม่เกิน 1 ล้าน กู้ได้ไม่เกิน 100% ของราคาประเมิน กู้ได้ 30 ปีโดยอายุผู้กู้รวมแล้วกับระยะเวลากู้ไม่เกิน 65 ปี และต้องติดต่อกู้ตั้งแต่วันนี้จนถึงสิ้นเดือนกันยายน อนุมัติถึงสิ้นเดือนกันยายน 2555 และจำนองภายใน 31 ธันวาคม 2555 หรือโครงการอาจจะหมดก่อนถ้าวงเงินหมด เพราะฉะนั้นเป็นอีกหนึ่งมาตรการซึ่งเสริมให้บ้านหลังแรกที่ราคาไม่เกิน 1 ล้านบาทจะได้ประโยชน์ ผมคิดว่าคนที่มีบ้านหลังแรกจริงๆส่วนใหญ่จะอยู่กลุ่มนี้ซึ่งก็จะได้ประโยชน์ จริงๆแล้วต้นทุนของดอกเบี้ยอยู่ประมาณ 4-5% ต่อปี 3 ปีตกประมาณ 12-15% ได้ประโยชน์มากกว่าอันแรกอีก เพราะว่า 1 ล้านบาทถ้าลดหย่อน 12% ก็คือได้ถึง 120,000 บาท 15% ก็ได้ถึง 150,000 บาท เพราะว่าต้นทุนเวลาเราไปฝากเงินตอนนี้ถ้าฝาก Fix Rate 2-3 ปีก็ 4% กว่าแล้ว เพราะนั้นเป็นสิ่งที่ผู้ให้กู้ จริงๆเค้ามีต้นทุนเงินฝากแต่เอามาให้ท่านกู้ 0% เป็นเวลาถึง 3 ปี อันนี้ก็เป็นประโยชน์

      คุณยุทธนา : พี่บู๊ครับอยากจะให้ช่วยสรุปประเมินภาพรวมของผลกระทบต่อภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต่อ 2 มาตรการนี้หน่อยครับ

      คุณชาติชาย : ผมคิดว่า 52 มาตรการนี้ ผลกระทบมันมาในเชิงที่ดี
      1.ผู้บริโภคหรือประชาชนทั่วไปได้รับสิทธิพิเศษในการนำราคาซื้อขาย 10% ไปลดภาษีของตัวเองที่จ่ายแต่ละปี
      2.ถ้ากู้ไม่เสียดอก การไม่เสียดอกเท่ากับเซฟค่าดอกเบี้ยไป 12-15% ที่ไม่ต้องเสียภาษีของราคาบ้าน ซึ่งก็ถือว่าเป็นจำนวนที่มาก 2 มาตรการรวมกันก็ถือว่าลดหย่อนได้มากเลย เพราะฉะนั้นคนก็ยิ่งเกิดประโยชน์ ผมคิดว่า 2 มาตรการนี้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิด Demand ในตลาดอสังหาริมทรัพย์และกระตุ้นให้เกิดการกู้ยืมของสินเชื่อบ้าน เพราะฉะนั้นโดยรวมก็เป็นประโยชน์ทั้งคู่ครับ

      คุณยุทธนา : สำหรับสินเชื่อบ้านกสิกรไทยปีนี้ทะลุเป้าแล้วใช่ไหมครับ

      คุณชาติชาย เดือนนี้เราได้ยอดสินเชื่อเพิ่มสุทธิเป็นไปตามเป้าแล้ว เป้าสิ้นปีตอนนี้เราได้ตามเป้าหมายแล้ว เพราะฉะนั้นในช่วงต่อๆไปก็ยังเป็นส่วนที่เกินเป้าของเรา

      คุณยุทธนา : ขอบคุณอย่างสูงนะครับพี่บู๊ 

      คุณชาติชาย ครับ สวัสดีครับคุณยุทธนาและท่านผู้ฟังครับ สวัสดีครับ